วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การโจมตีซอฟเเวร์

การโจมตีซอฟต์แวร์ เกิดขึ้นโดยการออกแบบซอฟต์แวร์ให้โจมตีระบบจากคนๆ เดียวหรือจากกลุ่มคนมีซอฟต์แวร์ที่ก่อความเสียหาย ทำลาย หรือ ปฏิเสธการบริการของระบบเป้าหมาย ซอพต์แวร์ที่ได้รับความนิยมคือ Malicious Code หรือ Malicious Software มักจะเรียกว่า มัลแวร์ (Malware) มีมากมาย อาทิ ไวรัส (Viruses) เวิร์ม (Worms) ม้าโทรจัน (Trojan Horses) Logic bombs และ ประตูหลัง (Back doors)
Malware หรือ มัลแวร์ ย่อมาจาก Malicious software หมายถึง ซอฟท์แวร์ที่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งมาจากการเขียนโปรแกรมที่ประกอบด้วย สคริปท์ โค้ด หรือคอนเท็นต์ ต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำลายหรือขัดขวางการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ หรือนำไปสู่การสูญเสียความเป็นส่วนตัว (ถูกแฮ็กข้อมูล) หรือทำให้ไม่สามารถเข้าไปยังระบบต่างๆ ได้ รวมทั้งอาจทำให้เกิดลักษณะต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์ในคอมพิวเตอร์


Virus (ไวรัส) แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์ของคุณโดยการเพิ่มจำนวนตัวมันเองขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ไวรัสต้องส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ต้องอาศัยไฟล์พาหะ เวลาที่ส่ง E-mail โดยแนบเอกสาร หรือไฟล์ที่มีไวรัสไปด้วย, การทำสำเนาไฟล์ที่ติดไวรัสไปไว้บนไฟล์เซริฟเวอร์, การแลกเปลี่ยนไฟล์โดยใช้แผ่นดิสก์เก็ต เมื่อผู้ใช้ทั่วไปรับไฟล์ หรือดิสก์มาใช้งาน
                                            

Worm (หนอน) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยอาศัยระบบเน็ตเวิร์ค (E-mail) ซึ่งการแพร่กระจายสามารถทำได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งจะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและทำความเสียหายรุนแรงกว่าไวรัสมาก
                                                     

Trojan (ม้าโทรจัน) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวโหลดเอาไปใส่เครื่องเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ สิ่งที่มันทำคือเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาควบคุมเครื่องที่ติดเชื้อจากระยะไกล ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ และโทรจันยังมีอีกหลายชนิด



Back Door or Trap Door (ประตูหลัง)
Back door หรือ Trap door เป็นสิ่งที่โปรแกรมเมอร์ได้สร้างไว้และรู้กันเฉพาะกลุ่มสำหรับการเข้าไปแก้ไขระบบ ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้แฮคเกอร์เข้ามาในระบบและมีสิทธิพิเศษในการแก้ไขสิ่งต่างๆตัวอย่าง ประเภทของback door มี Subseven และ Back Orifice



Polymorphism (โพลีมอร์ฟิก)
Polymorphism เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาให้มีความยากในการตรวจจับ อาจจะใช้เวลาหลายวันในการสร้างโปรแกรมตรวจจับ เพื่อจัดการกับ polymorphism เพราะมันใช้เทคนิคการซ่อนลักษณะเฉพาะที่สำคัญ (signatures) ไม่ให้คงรูปเดิม เพื่อหลีกจากการตรวจจับของโปรแกรมแอนตี้ไวรัส


Virus and Worm Hoaxes (ไวรัสและหนอน)
เป็นรูปแบบของการหลอกลวงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทำให้เสียเงินเสียเวลาในการวิเคราะห์ โดยไวรัสหลอกลวงจะมาในรูปจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เตือนให้ระวังอันตรายจากไวรัส ด้วยการอ้างแหล่งข้อมูลเป็นรายงานที่น่าเชื่อถือเพื่อให้ผู้รับส่งต่อจดหมายเตือนฉบับนั้นต่อๆไปอีกหลายๆทอดซึ่งเป็นลักษณะของไวรัสหลอกลวง หากได้รับจดหมายประเภทนี้ไม่ควรที่จะส่งต่อ ควรเช็คจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องก่อนทำการส่ง และควรจะอัพเดทโปรแกรมแอนตี้ไวรัสอย่างสม่ำเสมอ


เครดิต: http://www.ngoscyber.mirror.or.th/autopagev4/show_page.phptopic_id=1811&auto_id=18&TopicPk=1738

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Creative Commons

Creative Commons


ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) คือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร จัดตั้งขึ้นขยายขอบข่ายของการใช้สื่อต่างๆ ให้กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดที่สัญญาอนุญาตของสื่อนั้นๆ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต (จอย อิโต)

Creative Commons Thailand


หลายคนคงสงสัยว่า สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons license) คืออะไร มันคือข้อตกลงที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์งานสามารถแชร์ผลงานกับผู้อื่นได้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งชิ้นงานดังกล่าวอาจถูกนำไปต่อยอดได้โดยไม่ต้องแจ้งขออนุญาตเจ้าของงานก่อน

ครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อเผยแพร่งานสร้างสรรค์ด้วยการ สงวนสิทธิ์บางประการ (Some rights reserved) มากกว่าจะต้องยึดติดกับการสงวนสิทธิ์ทั้งหมด (All rights reserved) เพราะแบบหลังนี่บางครั้งทำให้เกิดข้อจำกัดในการเผยแพร่งานได้ เช่นที่เรามักเห็นตามเว็บไซต์หลายๆ แห่งเขียนประมาณว่า
“สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้า เผยแพร่ จัดแสดง หรือดัดแปลง

โดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร…”
ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว มีความรู้อยู่มากมายในโลกอินเทอร์เน็ต ที่สมควรแก่การแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด ดีกว่าเก็บเอาไว้ไม่มีใครรับรู้ ไม่มีใครเห็น ดังนั้นการนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ มาใช้ จึงดูเป็นทางออกที่น่าสนใจและแน่นอนว่าตัวเจ้าของงานก็ยังมีสิทธิ์ในชิ้นงานของตนเช่นเดิม ไม่จำเป็นต้องยกให้เป็นสาธารณะสมบัติ (Public Domain) หมดเสียทีเดียว

งานสร้างสรรค์ที่ใช้ ครีเอทีฟคอมมอนส์ ก็มีอยู่อย่างมากมายเช่น ภาพถ่าย, เพลง, บทความ, คลิปวิดีโอ ฯลฯ เป็นการส่งเสริม “วัฒนธรรมเสรี” หรือ Free Culture ที่ทุกคนแบ่งปันกัน มากกว่าเน้นเชิงพาณิชย์แล้วลงเอยด้วยการที่ต้องนำกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญามาบังคับใช้ ซึ่งน่ายินดีว่า ครีเอทีฟคอมมอนส์ มีเวอร์ชั่นภาษาไทยอย่างเป็นทางการแล้ว

สัญลักษณ์ Creative Commons

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ 3.0 ประเทศไทย
ได้อธิบาย สัญลักษณ์แต่ละตัวเอาไว้ว่า
แสดงที่มา (Attribution: by)
คุณต้องแสดงที่มาของงานดังกล่าวตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด (แต่ไม่ใช่ในลักษณะที่ว่าพวกเขาสนับสนุนคุณหรือสนับสนุนการที่คุณนำงานไปใช้) .

ไม่ใช้เพื่อการค้า (Noncommercial: nc)
คุณไม่อาจใช้งานนี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า .

ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works: nd)
คุณไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือสร้างงานของคุณจากงานนี้ .

อนุญาตแบบเดียวกัน (Share Alike: sa)
หากคุณดัดแปลง เปลี่ยนรูป หรือต่อเติมงานนี้คุณต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน หรือแบบที่เหมือนกับหรือที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับงานนี้เท่านั้น .



ทั้งนี้สัญลักษณ์ดังกล่าวสามารถนำมาใช้ร่วมกันเช่น

หมายถึง สามารถใช้ชิ้นงานดังกล่าวได้โดยต้องแสดงที่มา และหากมีการดัดแปลงชิ้นแปลงก็จะต้องเผยแพร่งานโดยใช้สัญญาอนุญาตในแบบเดียวกันนี้ต่อไป

หมายถึง สามารถใช้งานดังกล่าวได้โดยต้องแสดงที่มา เว้นแต่ไม่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการค้า และไม่ให้ดัดแปลงชิ้นงานดังกล่าวด้วย

การสร้างสัญลักษณ์ Creative Commons
      
สร้างไฟล์ภาพสำหรับเว็บด้วย Paint
- โปรแกรม Paint เป็นโปรแกรมมาตรฐานของ Windows ทุกรุ่น โดยเฉพาะ Windows 98 เป็นต้นไป ได้เพิ่มความสามารถในการจัดเก็บไฟล์ (Save) ในฟอร์แมต .GIF และ .JPG ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่สะดวกในการสร้างไฟล์กราฟิกสำหรับเว็บแบบง่ายๆ และรวดเร็ว โดยมีตัวอย่างการสร้างงานดังนี้
เปิดโปรแกรมที่ต้องการนำภาพมาใช้งาน เช่น Microsoft Word, Excel หรือ PowerPoint
ปรับแต่งรูปภาพตามต้องการ เช่น ย่อขนาด

- คลิกเลือกภาพ แล้วเลือกเมนูคำสั่ง Edit, Copy (แก้ไขคัดลอก) เพื่อบันทึกรูปภาพไว้ในหน่วยความจำ
เรียกใช้โปรแกรม Paint โดยคลิกปุ่ม Start จากแถบสั่งงาน แล้วเลือกรายการ Program, Accessories, Paint
เมื่อปรากฏหน้าจอโปรแกรม Paint ให้ใช้เมนูคำสั่ง Image, Attribute เพื่อตั้งค่าพื้นที่ทำงานให้มีขนาดเล็ก เช่นขนาด 100 x 100 Pixels


- จากนั้นเลือกเมนูคำสั่ง Edit, Paste เพื่อวางภาพลงในโปรแกรม ถ้าโปรแกรมปรากฏหน้าต่างสอบถามการวาง ให้คลิกปุ่ม Yes


จากนั้นเลือกเมนูคำสั่ง File, Save (หรือ File, Save As..) ตั้งชื่อไฟล์ไดร์ฟ และเลือกรูปแบบของภาพเป็น .GIF หรือ .JPG ตามที่ต้องการ

เว็บที่ใช้ Creative Commons


ที่มา : http://teerapuch.wordpress.com/2011/04/04/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98/

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ
แล้วทำไมเราถึงต้องใช้เครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การที่เรานำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ หรือระบบสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำให้ใช้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้ (Resources Sharing) ซึ่งเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก ในการใช้งาน เช่น การใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถบริหารจัดการการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) เช่น สร้างเวิร์กกรุป กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถทำการ สำรองข้อมูล ของแต่ละเครื่องได้ สามารถทำการสื่อสาร ภายในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ เช่น อีเมล์, แชท (Chat), การประชุมทางไกล (Teleconference), และ การประชุมทางไกล แบบเห็นภาพ (Video Conference)มีระบบรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล บนเครือข่าย (Network Security) เช่นสามารถ ระบุผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ในระดับต่างๆ ป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาติ เข้าถึงข้อมูล และให้การคุ้มครอง ข้อมูลที่สำคัญ ให้ความบันเทิงไม่รู้จบ (Entertainment) เช่น สามารถสนุกกับ การเล่นเกมส์ แบบผู้เล่นหลายคน หรือที่เรียกว่า มัลติ เพลเยอร์(Multi Player) ที่กำลัง เป็นที่นิยมกันอยู่ในเวลานี้ได้
ใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) เพียงต่อเข้าอินเทอร์เน็ต จากเครื่องหนึ่งในเครือข่าย โดยมีแอคเคาท์เพียงหนึ่งแอคเคาท์ ก็ทำให้ผู้ใช้อีกหลายคน ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เสมือนกับมีหลายแอคเคาท์
ฯลฯ

ระบบเครือข่ายชนิดต่างๆ

ระบบเครือข่าย สามารถเรียกได้ หลายวิธี เช่นตามรูปแบบ การเชื่อมต่อ (Topology) เช่น แบบบัส (bus), แบบดาว (star), แบบวงแหวน (ring) หรือจะเรึยกตามขนาด หรือระยะทางของระบบก็ได้ เช่นแลน (LAN), แวน (WAN), แมน (MAN) นอกจากนี้ ระบบเครือข่าย ยังสามารถ เรียกได้ตาม เทคโนโลยีที่ไช้ ในการส่งผ่านข้อมูล เช่น เครือข่าย TCP/IP, เครือข่าย IPX, เครือข่าย SNA หรือเรียกตาม ชนิดของข้อมูล ที่มีการส่งผ่าน เช่นเครือข่าย เสียงและวิดีโอ
เรายังสามารถจำแนกเครือข่ายได้ ตามกลุ่มที่ใช้เครือข่าย เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet), เอ็กซ์ตร้าเน็ต (Extranet), อินทราเน็ต (Intranet), เครือข่ายเสมือน (Virtual Private Network) หรือเรียก ตามวิธีการ เชื่อมต่อทางกายภาพ เช่นเครือข่าย เส้นใยนำแสง, เครือข่ายสายโทรศัพท์, เครือข่ายไร้สาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า เราสามารถจำแนก ระบบเครือข่าย ได้หลากหลายวิธี ตามแต่ว่า เราจะพูดถึง เครือข่ายนั้นในแง่มุมใด เราจำแนก ระบบเครือข่าย ตามวิธีที่นิยมกัน 3 วิธีคือ รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology), รูปแบบการสื่อสาร (Protocol), และ สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Architecture)

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย



ฮับ (Hub)
เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เข้าด้วยกัน
ที่มา




บริดจ์(Bridge)
เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะ ไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่าง กันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ TokenRing เป็นต้น บริดจ์ักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อยๆ องค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้น สามารถติด ต่อกับเครือข่าย ย่อยอื่นๆ ได้

เซอร์เวอร์ (Server)

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครืองแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก ในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและ ทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซอร์เวอร์มักจะเป็นเครื่อง ที่มีสมรรถนะสูง และ มีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย



ซอฟเเวร์ที่ใช้ในระบบ คือ Unix


การจำแนกระบบเครือข่าย ตามรูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) จะบอกถึงรูปแบบ ที่ทำการ เชื่อมต่ออุปกรณ์ ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมกัน 3 วิธีคือ

แบบบัส (bus)



ในระบบเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน ลักษณะการทำงานของเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลัก ที่เรียกว่า "บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง จะถูกส่งเข้าสู่สายบัส ในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของ ผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในสายบัส จะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เป็นการป้องกันการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัส สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง เมื่อเข้าสู่บัสจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทาง ที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้น ตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือ แบบควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งจะมีโหนดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ การควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่าย จะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสาร แทนที่จะ เป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการส่ง-รับ ข้อมูลกันอย ู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้นข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส

แบบดาว (star)



เป็นหลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่าย จะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Center Comtuper) เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสาร ที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลาง จึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย
การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทาง โดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบ STAR เป็นโทโปโลยี อีกแบบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้

แบบวงแหวน (ring)


เครือข่ายแบบ RING เป็นการส่งข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่าย ไปในทิศทางเดียว เหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลาย หรือเทอร์มิเนเตอร์ เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่น จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูล ที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูล ที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้น ส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป

ที่มา : http://www.bua-yai.ac.th/buayai/buayai_web/html_web/unit_4/network_hardware.html