Creative Commons
หลายคนคงสงสัยว่า สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons license) คืออะไร มันคือข้อตกลงที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์งานสามารถแชร์ผลงานกับผู้อื่นได้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งชิ้นงานดังกล่าวอาจถูกนำไปต่อยอดได้โดยไม่ต้องแจ้งขออนุญาตเจ้าของงานก่อน
ครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อเผยแพร่งานสร้างสรรค์ด้วยการ สงวนสิทธิ์บางประการ (Some rights reserved) มากกว่าจะต้องยึดติดกับการสงวนสิทธิ์ทั้งหมด (All rights reserved) เพราะแบบหลังนี่บางครั้งทำให้เกิดข้อจำกัดในการเผยแพร่งานได้ เช่นที่เรามักเห็นตามเว็บไซต์หลายๆ แห่งเขียนประมาณว่า
“สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้า เผยแพร่ จัดแสดง หรือดัดแปลง
โดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร…”
ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว มีความรู้อยู่มากมายในโลกอินเทอร์เน็ต ที่สมควรแก่การแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด ดีกว่าเก็บเอาไว้ไม่มีใครรับรู้ ไม่มีใครเห็น ดังนั้นการนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ มาใช้ จึงดูเป็นทางออกที่น่าสนใจและแน่นอนว่าตัวเจ้าของงานก็ยังมีสิทธิ์ในชิ้นงานของตนเช่นเดิม ไม่จำเป็นต้องยกให้เป็นสาธารณะสมบัติ (Public Domain) หมดเสียทีเดียว
งานสร้างสรรค์ที่ใช้ ครีเอทีฟคอมมอนส์ ก็มีอยู่อย่างมากมายเช่น ภาพถ่าย, เพลง, บทความ, คลิปวิดีโอ ฯลฯ เป็นการส่งเสริม “วัฒนธรรมเสรี” หรือ Free Culture ที่ทุกคนแบ่งปันกัน มากกว่าเน้นเชิงพาณิชย์แล้วลงเอยด้วยการที่ต้องนำกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญามาบังคับใช้ ซึ่งน่ายินดีว่า ครีเอทีฟคอมมอนส์ มีเวอร์ชั่นภาษาไทยอย่างเป็นทางการแล้ว
สัญลักษณ์ Creative Commons
ได้อธิบาย สัญลักษณ์แต่ละตัวเอาไว้ว่า

คุณต้องแสดงที่มาของงานดังกล่าวตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด (แต่ไม่ใช่ในลักษณะที่ว่าพวกเขาสนับสนุนคุณหรือสนับสนุนการที่คุณนำงานไปใช้) .

คุณไม่อาจใช้งานนี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า .

คุณไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือสร้างงานของคุณจากงานนี้ .

หากคุณดัดแปลง เปลี่ยนรูป หรือต่อเติมงานนี้คุณต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน หรือแบบที่เหมือนกับหรือที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับงานนี้เท่านั้น .
ทั้งนี้สัญลักษณ์ดังกล่าวสามารถนำมาใช้ร่วมกันเช่น


การสร้างสัญลักษณ์ Creative Commons
สร้างไฟล์ภาพสำหรับเว็บด้วย Paint
- โปรแกรม Paint เป็นโปรแกรมมาตรฐานของ Windows ทุกรุ่น โดยเฉพาะ Windows 98 เป็นต้นไป ได้เพิ่มความสามารถในการจัดเก็บไฟล์ (Save) ในฟอร์แมต .GIF และ .JPG ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่สะดวกในการสร้างไฟล์กราฟิกสำหรับเว็บแบบง่ายๆ และรวดเร็ว โดยมีตัวอย่างการสร้างงานดังนี้
เปิดโปรแกรมที่ต้องการนำภาพมาใช้งาน เช่น Microsoft Word, Excel หรือ PowerPoint
ปรับแต่งรูปภาพตามต้องการ เช่น ย่อขนาด
- คลิกเลือกภาพ แล้วเลือกเมนูคำสั่ง Edit, Copy (แก้ไข, คัดลอก) เพื่อบันทึกรูปภาพไว้ในหน่วยความจำ
เรียกใช้โปรแกรม Paint โดยคลิกปุ่ม Start จากแถบสั่งงาน แล้วเลือกรายการ Program, Accessories, Paint
เมื่อปรากฏหน้าจอโปรแกรม Paint ให้ใช้เมนูคำสั่ง Image, Attribute เพื่อตั้งค่าพื้นที่ทำงานให้มีขนาดเล็ก เช่นขนาด 100 x 100 Pixels
- จากนั้นเลือกเมนูคำสั่ง Edit, Paste เพื่อวางภาพลงในโปรแกรม ถ้าโปรแกรมปรากฏหน้าต่างสอบถามการวาง ให้คลิกปุ่ม Yes
จากนั้นเลือกเมนูคำสั่ง File, Save (หรือ File, Save As..) ตั้งชื่อไฟล์, ไดร์ฟ และเลือกรูปแบบของภาพเป็น .GIF หรือ .JPG ตามที่ต้องการ
เว็บที่ใช้ Creative Commons
ที่มา : http://teerapuch.wordpress.com/2011/04/04/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น